บอร์ด Arduino นั้นมีด้วยกันหลายมากมายหลายรุ่น แต่ละรุ่นต่างก็มีลักษณะเฉพาะตัวของมัน ซึ่งถูกออกแบบให้เหมาะสมกับการทำงานในรูปแบบต่างๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่ารุ่นของบอร์ด Arduino นั้นมีเยอะมากๆจนทำให้เราเลือกไม่ถูกว่าจะซื้อบอร์ดไหนมาลองเล่นดี โดยเฉพาะกับมือใหม่หัดเล่นอาจจะยังจับต้นชนปลายไม่ถูก ไม่รู้ว่าควรจะเริ่มต้นยังไง เริ่มใช้บอร์ดไหนก่อน ผู้เขียนจึงอยากจะแนะนำให้รู้จักกับบอร์ดหลักของ Arduino ซึ่งเป็นที่รู้จักและนิยมกันมากที่สุด เนื่องจากเป็นบอร์ดที่ประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย มีตัวอย่างและ Library ที่ support มากมาย นักเล่นส่วนใหญ่ก็มักจะเริ่มต้นกันบอร์ดนี้ นั่นก็คือบอร์ด Arduino UNO นั่นเอง
Arduino UNO นั้นก็มีออกมาหลายรุ่นด้วยกัน โดยมีพัฒนาการมาเรื่อยๆตั้งแต่ Arduino UNO รุ่นดั้งเดิม Arduino UNO R2 และพัฒนาจนมาเป็นArduino UNOรุ่นปัจจุบัน นั่นก็คือ Arduino UNO R3 ซึ่ง “R3” นี้แสดงถึงรุ่นที่ได้ทำการแก้ไขปรับปรุงเป็นครั้งที่3 (Third Revision) นั่นเอง
นอกจากนั้นแล้ว Arduino UNO R3 เอง ก็แบ่งย่อยออกเป็น 2 แบบ ตามชนิดของชิป Microcontroller ที่ใช้ ได้แก่ Arduino UNO R3 แบบธรรมดา จะใช้ชิปMCU แบบ DIP (Dual Inline Package) ซึ่งเป็นชิปที่เสียบเข้ากับ Socket อีกทีสามารถถอดเปลี่ยนได้ และ Arduino UNO R3 SMD จะใช้ชิปMCU แบบ SMD (Surface Mount Device) ซึ่งเป็นชิปที่ถูกบัดกรีติดลงบนบอร์ดเลย บอร์ดลักษณะนี้จะไม่สามารถถอดเปลี่ยนชิปได้ ซึ่งบอร์ดแบบSMDจะมีต้นทุนที่ถูกกว่าจึงทำให้ราคาถูกกว่าบอร์ดแบบDIP แต่ทั้งสองบอร์ดก็มีฟังก์ชัน สเปคและการใช้งานที่เหมือนกันทุกประการ
Arduino UNO R3 Specification
Microcontroller | ATmega328P |
Operating Voltage | 5V |
Input Voltage (recommended) | 7-12V |
Input Voltage (limit) | 6-20V |
Digital I/O Pins | 14 (of which 6 provide PWM output) |
PWM Digital I/O Pins | 6 |
Analog Input Pins | 6 |
DC Current per I/O Pin | 20 mA |
DC Current for 3.3V Pin | 50 mA |
Flash Memory | 32 KB (ATmega328P)of which 0.5 KB used by bootloader |
SRAM | 2 KB (ATmega328P) |
EEPROM | 1 KB (ATmega328P) |
Clock Speed | 16 MHz |
Length | 68.6 mm |
Width | 53.4 mm |
Weight | 25 g |
ส่วนประกอบหลักของบอร์ด Arduino UNO R3
- Microcontroller
Arduino UNO R3 จะใช้ชิป Microcontroller เป็นชิป ผลิตโดยบริษัท Atmel ซึ่งส่วนนี้จะเป็นเหมือนสมองของบอร์ด ที่ใช้สำหรับการประมวลผลและควบคุม I/O
![]() |
![]() |
- Header Socket
เป็น Socket ที่เชื่อมต่อมาจากขาของ Microcontroller ซึ่งเรียงอยู่ตรงขอบๆของบอร์ด Arduino ไว้สำหรับต่อสายไฟเพื่อรับค่า Input หรือส่งออก Output โดยจะมีLabel กำกับหมายเลขPinอยู่เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน โดย Header Socket จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ Digital Pin, Analog in Pin และ Power Pin
– Digital Pin
เป็นPinสำหรับรับและส่งสัญญาณที่เป็น Digital โดยมี 2 สถานะ คือ On (0V) หรือ Off (5V)
– Analog in Pin
เป็น Pin สำหรับรับค่าสัญญาณที่เป็น Analog
– Power Pin
เป็น Pin สำหรับจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งจะมีทั้ง 5V และ 3.3V และ Vin โดยVinจะให้ค่าความต่างศักย์เท่ากับไฟที่ต่อมาจาก external power jack
- USB Socket
ใช้ในการเชื่อมต่อสาย USB เพื่ออัพโหลดโปรแกรมลงชิป และจ่ายไฟให้กับบอร์ด
- External Power Jack
เป็นช่องสำหรับนำ Power Adapter มาเสียบเพื่อต่อไฟจากภายนอก
- LED
– L: Pin 13 LED (LED on Board)
เป็นไฟ LED ที่อยู่บนบอร์ดซึ่งเชื่อมต่อกับ Digital Pin 13 มักใช้สำหรับการทดสอบ
– ON: Power LED
เป็นไฟแสดงสถานะไฟเลี้ยงของบอร์ด โดยถ้าไฟขึ้นสีเขียวแสดงว่า บอร์ดทำงาน
– RX, TX: RX/TX LED
เป็นไฟที่แสดงสถานะของการส่งข้อมูลว่าขณะนี้บอร์ดกำลังทำการส่งหรรือรับข้อมูลอยู่
- Reset Button
เป็นปุ่มสำหรับ Reset โปรแกรมบนบอร์ดให้หยุดการทำงานเดิมและเริ่มต้นทำงานใหม่ตั้งแต่แรก
อันนี้เป็นเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆ หลายๆคนอาจจะเคยเข้าไปดูตามเว็บต่างๆแล้วเห็นบางที่เขียนว่า Arduino UNO R3 รุ่น Compatible หรือ วงเล็บด้านหลังว่า Compatible แล้วมันคืออะไร มันต่างจากปกติยังไง เนื่องจากว่า Arduino เป็นแฟลตฟอร์ม Open-Source ลายวงจรและ PCB Design ต่างๆของบอร์ด Arduino นั้นจะถูกเปิดเผยหมด เปิดโอกาสให้ใครก็ตามสามารถดาวน์โหลดแบบและลายวงจรออกมาทำหรือผลิตตามได้โดยไม่ผิดลิขสิทธ์ จึงทำให้ผู้ผลิตหลายๆเจ้าผลิตบอร์ด Arduino ออกมาจำหน่ายมากมาย โดยจะเรียกบอร์ดเหล่านี้ว่าเป็นบอร์ด Compatible คือไม่ได้ผลิตมาจากโรงงานของ Arduinoโดยตรง แต่ก็มีสเปคและสามารถทำงานได้เหมือนกันทุกประการ รวมถึงมีราคาที่ถูกกว่ามากอีกด้วย
ใครที่สนใจอยากจะซื้อ Arduino UNO R3 ไปลองเล่นดู ก็สามารถเข้าไปสั่งซื้อกันได้ที่เว็บwww.lalaisub.com ได้เลย และก็อย่าลืมติดตามอ่านบทความกันในตอนต่อๆไปน้า
รายละเอียดเพิ่มเติม : www.arduino.cc
tadalafil 20mg lowest price
Basic Arduino ตอนที่ 2: รู้จักกับ Arduino UNO R3 | SATELLITE 2U
best price 100mg generic viagra
Basic Arduino ตอนที่ 2: รู้จักกับ Arduino UNO R3 | SATELLITE 2U
ciprofloxacin price without insurance
Basic Arduino ตอนที่ 2: รู้จักกับ Arduino UNO R3 | SATELLITE 2U
generic ventolin
Basic Arduino ตอนที่ 2: รู้จักกับ Arduino UNO R3 | SATELLITE 2U
naltrexone for weight loss
Basic Arduino ตอนที่ 2: รู้จักกับ Arduino UNO R3 | SATELLITE 2U
Comments are closed.