ช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาผู้ให้บริการเกี่ยวกับช่องรายการแบบบอกรับสมาชิกรายใหญ่ประกาศเปิดรับสมัครช่างดาวเทียมเพื่อไปเปลี่ยนหัวรับสัญญาณจานดาวเทียมให้กับลูกจากหัวแบบ 11300 เป็นแบบ Universal (09750/10600) เนื่องจากจะต้องย้ายความถี่มาใช้บนดาวเทียม Thaicom8 เพราะดาวเทียม Thaicom5 นั้นใกล้จะหมดอายุแล้ว
เราลองมาทำความรู้จักแบบเทคนิคกันนิดว่าดาวเทียม Thaicom5 นั้นมีข้อมูลอะไรบ้างแบบสรุปๆ เลยนะครับ
ดาวเทียมไทยคม 5 เป็นดาวเทียมรุ่น Spacebus-3000A ซึ่งเป็นดาวเทียมรุ่น 3 แกน ที่ผลิตโดย บริษัท อัลคาเทล อาลีเนีย สเปซ จัดเป็นดาวเทียมสื่อสาร ขนาด 2.8 ตัน (พร้อมเชื้อเพลิง) ให้บริการโทรทัศน์และอินเทอร์เน็ตไปยังภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีช่องสัญญาณ 25 C-band และ 14 Ku-band ตำแหน่งวงโคจรอยู่ที่ 78.5 E มาแทนที่ดาวเทียม Thaicom1 และ 2 ที่เปิดตัวในปี 2536 และ 2537
ข้อมูลเชิงเทคนิค Thaicom5
NORAD ID: 29163
Int’l Code: 2006-020B
Perigee: 35,767.9 km
Apogee: 35,818.6 km
Inclination: 0.0 °
Period: 1,436.1 minutes
Semi major axis: 42164 km
RCS: 0.003 m2 (small)
Launch date: May 27, 2006
Source: Thailand (THAI)
Launch site: FRENCH GUIANA (FRGUI)
เราลองมาทำความเข้าใจกันว่าข้อมูลด้านบนนั้นบอกอะไรบ้างเริ่มจาก
NORAD ID: 29163
NORAD ID จะเป็นหมายเลข 5 หลักตามลำดับที่กำหนดโดย USSPACECOM (United States Space Command) ให้กับดาวเทียมทุกดวงที่โคจรในวงโคจรต่างๆ หรือเปรียบเสมือนเลขที่บัตรประจำตัวประชาชนของดาวเทียมนั้นเอง ซึ่งดาวเทียมไทยคม5 เรามีเลขที่ NORAD ID : 29163 ก่อนที่ USSPACECOM จะมาเป็นผู้ดูแลทางหน่วยงาน NORAD จะเป็นผู้ดูแลด้านนี้มาก่อนโดย NORAD ID : 00001 ถูกกำหนดให้กับจรวดขนส่งดาวเทียม Sputnik1 ของโซเวียต และ NORAD ID : 00002 ก็กำหนดให้กับ ดาวเทียม Sputnik1 ดาวเทียมดวงแรกของโลกนั้นเอง
Int’l Code: 2006-020B
Int’l Code คืออนุสัญญาการตั้งชื่อระหว่างประเทศสำหรับดาวเทียม โดยตัว ID ประกอบด้วยปีเปิดตัว ตัวเลข 3 ตัวคือลำดับที่เปิดตัวในปีนั้น ของไทยคม5 คือ 2006-020B คือเปิดตัวปี 2006 เป็นลำดับที่ 20 ของปีนั้น ตัวต่อมาคือตัวอักษระบุลำดับอุปกรณ์ที่เปิดตัวในคราวนั้นจะจัดเรียงเป็น A B D ยกตัวอย่างเช่น 1990-037A คือรหัสของ กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรี่ในภารกิจ STS-31 ซึ่งบรรทุกกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล รหัส 1990-037B ขึ้นสู่อวกาศเป็นต้น
Perigee: 35,767.9 km
Perigee คือจุดที่ดาวเทียมอยู่ใกล้โลกที่สุดคือ 35,767.9 กิโลเมตร
Apogee: 35,818.6 km
Apogee คือจุดที่ดาวเทียมอยู่ไกลโลกที่สุดคือ 35,818.6 กิโลเมตร
Inclination: 0.0 °
Inclination คือความโน้มเอียงของวงโคจรเป็นการวัดความเอียงของวงโคจร มันจะแสดงเป็นมุมระหว่างระนาบอ้างอิงและระนาบการโคจรหรือแกนของทิศทางของวัตถุที่โคจร สำหรับดาวเทียมที่โคจรรอบโลกโดยตรงเหนือเส้นศูนย์สูตรระนาบของวงโคจรของดาวเทียมจะเหมือนกับระนาบเส้นศูนย์สูตรของโลกและความโน้มเอียงของวงโคจรของดาวเทียมเท่ากับ 0 °
Period: 1,436.1 minutes
Period คือเวลาที่โคจรรอบโลกครบ 1 รอบซึ่งใช้เวลา 1,436.1 นาที ถ้าเราเอา 60 ไปหารก็จะได้ 23.935 ชั่วโมงเท่ากับการหมุนของโลกรอบตัวเอง 1 รอบ หรือ 1 วันนั้นเอง
Semi major axis: 42164 km
Semi major axis คือระยะทางที่ลากผ่านศูนย์การวงรีของวงโคจรจากระยะใกล้สุดของโลกถึงไกลสุดของโลก จะได้ระยะทาง 42164 กิโลเมตร
RCS: 0.003 m2 (small)
RCS หรือย่อมาจาก Radar cross-section เป็นการวัดว่าเรดาร์ตรวจจับวัตถุได้ขนาดเล็กใหญ่เท่าใด RCS ที่ใหญ่ขึ้นบ่งชี้ว่าตรวจจับวัตถุได้ง่ายขึ้น โดย RCS < 0.1 จัดเป็นดาวเทียมขนาดเล็ก และ 0.1< RCS < 1.0 จัดเป็นดาวเทียมขนาดกลาง และ RCS > 1.0 จัดเป็นดาวเทียมขนาดใหญ่
Launch date: May 27, 2006
Launch date คือวันที่นำขึ้นสู่วงโคจร ไทยคม5 เรานำขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2549
Source: Thailand (THAI) อันนี้คงไม่ต้องอธิบายคือเป็นของประเทศไทยเรานะครับ
Launch site: FRENCH GUIANA (FRGUI) คือฐานปล่อยจรวด FRENCH GUIANA นั้นเป็นจังหวัดนึง ของประเทศฝรั่งเศสซึ่งอยู่โพ้นทะเลไกลข้ามสมุทรไปถึงอเมริกาใต้โน้น
อายุการใช้งานตามสเปคของดาวเทียมไทยคม5 เรานั้นมีอายุ 14 ปี ถึงตอนที่เขียนบทความนี้ก็ 13 ปีแล้วเหลืออีก 1 ปีก็จะหมดอายุแล้ว เราต้องหาดาวเทียมมาทดแทนถึงการสั่งสร้างใหม่ในเวลา 1 ปีนั้นไม่ทันแน่นอนมีอยู่ 2 ทางเลือกคือการส่งแบตเตอรี่อันใหม่ขึ้นไปต่อพ่วงเพิ่มเหมือนพาวเวอร์แบ็งค์ซึ่งในทางเทคนิคทำได้ หรืออีกทางเลือกคือไปเช่าดาวเทียมอื่นลากมาที่ตำแหน่ง 78.5 องศาเพื่อที่เราจะไม่เสียวงโคจรนี้ไป
generic ventolin
รู้จักดาวเทียม Thaicom5 (เทคนิค) | SATELLITE 2U
cialis uk online
รู้จักดาวเทียม Thaicom5 (เทคนิค) | SATELLITE 2U
ciproxin 500 mg
รู้จักดาวเทียม Thaicom5 (เทคนิค) | SATELLITE 2U
Comments are closed.